Archive for 2010

เทรนด์การใช้เว็บเบราว์เซอร์จาก google trends – ilovebrowser

Monday, September 27th, 2010

จากคราวที่แล้ว ผมเอาตารางเปรียบเทียบ 10 อันดับเว็บเบราว์เซอร์ในปี 2010 มาให้เพื่อนๆได้ดูความนิยมของเว็บเบราว์เซอร์แต่ละตัว โดยเป็นการเปรียบเทียบคุณสมบัติความสามารถ ของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์แต่ละตัวไปแล้วนั้น วันนี้เลยเอาเทรนด์การใช้เว็บเบราว์เซอร์ หรือสถิติความนิยมการใช้เว็บเบราว์เซอร์จาก google trends มาให้ดูให้ชมกันนะครับ ซึ่งในที่นี้ ผมใช้เว็บเบราเซอร์ 5 ตัวด้วยกันในการเปรียบเทียบเทรนด์จากทั่วโลก ได้แก่ internet explorer, firefox, chrome, opera, safari ได้ผลดังรูป

web browser trends,เทรนด์เว็บเบราว์เซอร์
รูปที่ 1 เทรนด์การใช้เว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกตั้งแต่ปี 2004 – 2010

จากรูปจะเห็นว่าไฟร์ฟ๊อกซ์เบราว์เซอร์ เริ่มได้รับความนิยมระหว่างกลางปี 2004 และเรื่อยไปจนเกือบกลางๆปี 2008 ซึ่งกราฟความนิยมขึ้นพีคสูงสุด ส่วนIE, Opera, Safari นั้นก็มีความนิยมที่ไม่หวือหวามากนัก ซึ่งต่างกับ Chrome ที่ช่วงเริ่มเปิดตัวในช่วงกลางๆปี 2008 ถือว่าได้รับความนิยมสูงสุด และจนถึงปัจจุบันก็ยังได้ระบความนิยมไม่น้อยทีเดียว

web browser trends 2010,เว็บเบราว์เซอร์เทรนด์ 2010
รูปที่ 2 เทรนด์การใช้เว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกในปี 2010

จากรูปเทรนด์การใช้เว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกในปี 2010 จะเห็นว่าไฟร์ฟ๊อกซ์เบราว์เซอร์ ก็ยังได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 และยังมีคนนิยมใช้สูงสุดอยู่เช่นเดิม ส่วน Chrome มาเป็นอันดับ 2 Opera มาเป็นอันดับ 3 IE มาเป็นอันดับ 4 และ Safari มาเป็นอันดับ 5

เอาละครับเราดูสถิติการใช้เว็บเบราว์เซอร์ หรือเทรนด์การใช้เว็บเบราว์เซอร์จากทั่วโลกไปแล้ว คราวนี้ เรามาดูสถิติการใช้เว็บเบราว์เซอร์ หรือเทรนด์การใช้เว็บเบราว์เซอร์ในบ้านเรากันดูนะครับ ดังรูป

web browser trends thailand,สถิติเว็บเบราเซอร์
รูปที่ 3 เทรนด์การใช้เว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2004 – 2010

จากรูปจะเห็นว่าแรกๆในบ้านเรา Internet Explorer ได้รับความนิยมอย่างมาก จนถึงช่วงปลายปี 2004 ก็ได้เสียแชมป์ให้กับไฟร์ฟ๊อกซ์เบราว์เซอร์ ที่เริ่มได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงระหว่างกลางปี 2004 และเรื่อยไปจนเกือบกลางๆปี 2008 ซึ่งกราฟความนิยมขึ้นพีคสูงสุด รวมทั้ง Chrome เองก็ไม่น้อยหน้า โดยในช่วงเริ่มเปิดตัวในช่วงกลางๆปี 2008 ถือว่าได้รับความนิยมสูงสุด และจนถึงปัจจุบันก็ยังได้ระบความนิยมไม่น้อยทีเดียว ส่วนIE, Opera, Safari นั้นก็มีความนิยมในบ้านเราที่ไม่หวือหวามากนัก ซึ่งไม่ต่างจากทั่วโลก

web browser trends thailand 2010,สถิติเว็บเบราว์เซอร์
รูปที่ 4 เทรนด์การใช้เว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยในปี 2010

จากรูปเทรนด์การใช้เว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยในปี 2010 จะเห็นว่าไฟร์ฟ๊อกซ์เบราว์เซอร์ ก็ยังนำมาเป็นอันดับ 1 ที่ได้รับความนิยมสูงสุดอยู่เช่นเดิม รองลงมาก็เป็น Chrome และ IE, Opera, Safari ตามลำดับ ซึ่งสถิติหรืออันดับการใช้เว็บเบราว์เซอร์ในบ้านเรา ก็แทบจะไม่แตกต่างจากทั่วโลกเท่าไหร่นักนะครับ แล้วเพื่อนๆหล่ะครับ ชอบหรือนิยมใช้เว็บเบราว์เซอร์ตัวไหนอยู่?

แก้ไขและซ่อมแซม Internet Explorer ด้วย IEFix Utility – ilovebrowser

Friday, September 24th, 2010

เคยที่เจอปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการใช้งานInternet Explorer บนวินโดวส์ Windows 98/ME/2000/XP อันได้แก่ ปัญหาต่อไปนี้

  • เล่นเน็ตแล้ว Internet Explorer แจ้งข้อความ Script Errors
  • ขณะเปิดหน้าเว็บเพจ หรือเข้าหน้าเว็บโฟลเดอร์ แล้ว IE แจ้ง Error ว่า The current operation could not be completed because an unexpected error has occurred.
  • เมื่อคลิกลิงค์ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ Email Address หรือ Link Url ในหน้าเว็บเพจ แล้ว IE มีอาการดังต่อไปนี้

    1. IE ยังเงียบเฉย ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    2. เปิดหน้า IE ใหม่ขึ้นมา แต่เป็นหน้าว่างเปล่าๆ ขาวๆ
    3. IE แจ้งข้อความ Error เกี่ยวกับ Script Errors

  • เมื่อคลิกเมนู Print/Print Preview เพื่อพิมพ์หน้าเว็บเพจ IE นิ่งเฉย ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
  • แท็บ Advanced ในกล่องข้อความ Internet Options เป็นหน้าว่างเปล่า
  • กล่องข้อความ About ของ Internet Explorer เป็นหน้าว่างเปล่า
  • ใช้งานช่อง Search bar หรือช่องค้นหาข้อมูลไม่ได้
  • ไม่สามารถพิมพ์ข้อความลงในช่องค้นหาในหน้าเว็บเพจ หรือในหน้าเว็บ Search Engine

เป็นต้น

เพื่อนๆ ที่เจอปัญหาดังที่กล่าวข้างต้น วันนี้ผมมีเครื่องมือ Utility ดีๆ สำหรับ Internet Explorer มาแนะนำให้ลองเอาไปใช้แก้ปัญหากันฟรีๆแล้วครับ ยูทิลิตี้ที่ว่าก็คือ IEFix Utility

iefix,iefix utility,ซ่อมIE

IEFix Utility เป็นยูทิลิตี้ที่ช่วยซ่อมแซม Internet Explorer อันอาจจะเกิดจากปัญหาต่างๆ เช่น ไวรัส สปายแวร์ก่อกวน, ไฟล์DllsสำคัญๆของIE หาย เป็นต้น ให้IEกลับมาใช้งานได้ดังเดิม

ดาวน์โหลด IEFix Utility ได้ ที่นี่ ไฟล์ซิปมีขนาด ประมาณ 15 กิโลไบต์นะครับ

วิธีใช้ IEFix Utility ง่ายๆ เพียงแค่ดาวน์โหลดจากลิงค์ข้างต้น จากนั้นก็แตกไฟล์ซิปออกมา จากนั้นก็เปิดโปรแกรมIEFix Utility ขึ้นมา แล้วคลิกที่ปุ่ม Apply แล้วรอสักครู่ เมื่อโปรแกรมรันเสร็จก็รีสตาร์ทเครื่อง แล้วใช้ Internet Explorer ดูอีกทีครับ

แต่ถ้าลองใช้IEFix Utility แล้วยังไม่หาย ก็คงต้องRe-Install Internet Explorer แล้วหล่ะครับ

ตารางเปรียบเทียบ 10 อันดับเว็บเบราว์เซอร์ในปี 2010 – ilovebrowser

Thursday, September 23rd, 2010

นี่ก็เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2010 แล้วนะครับ การแข่งขันการตลาดทางด้านเว็บเบราว์เซอร์ ก็ยังคงมีออกมาเรื่อยๆ ซึ่งจะเห็นได้จาก ล่าสุดนั้น Internet Explorer กำลังเปิดตัวเวอร์ชั่น 9, Firefox ออกเวอร์ชั้น 3.6.10, Google Chrome ออกเวอร์ชั่น 6, Opera ออกเวอร์ชั่น 10.62 และ Apple Safari ออกเวอร์ชั่น 5 รวมถึงเว็บเบราว์เซอร์อื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งแต่ละป้อมค่ายก็ได้ปรับปรุง และพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ของตนเอง ให้มีคุณสมบัติครอบคลุม ถูกใจผู้ใช้งาน ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นครับ

และต่อไปเรามาดูกันซิว่าเว็บต่างประเทศอย่างเว็บไซต์ toptenreviews เค้าจัดอันดับเว็บเบราว์เซอร์ไว้กันอย่างไรบ้าง

web browsers Comparisons, เปรียบเทียบเว็บเบราว์เซอร์ตารางเปรียบเทียบ 10 อันดับเว็บเบราว์เซอร์ในปี 2010

จากรูปเป็นการเปรียบเทียบคุณสมบัติความสามารถ ของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์แต่ละตัวนะครับ ซึ่งขอสรุปหลักคร่าวๆที่เค้าใช้ในการเปรียบเทียบก็จะมี
– ฟีเจอร์หรือคุณสมบัติของเว็บเบราว์เซอร์ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
– การอำนวยความสะดวก สบายต่อการใช้งาน การใช้งานง่ายมากน้อยเพียงใด
– เรื่องของความปลอดภัย จากการเล่นอินเตอร์เน็ตโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์นั้นๆ
– ความเร็วในการเปิดโปรแกรม ระหว่างการใช้งาน การเปิดดูเว็บเพจ รวมทั้งระบบปฏิบัติการที่รองรับ
– และที่ขาดไม่ได้คือระบบช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้งานครับ

จากข้อมูลข้างต้น เพื่อนๆคิดเห็นเป็นเช่นไรกันบ้างครับ ตรงกับในใจที่คิดไว้หรือเปล่า ลองโพสต์แสดงความคิดเห็นกันได้ครับ

ไกด์ไลน์วิธีใช้งานSafariเบื้องต้น – ilovebrowser

Wednesday, September 22nd, 2010

หลังจากที่ เมื่อวานได้เขียนบทความแนะนำไกด์ไลน์วิธีใช้งานOperaเบื้องต้น ไปแล้วนั้น คราวนี้ มาถึงเว็บเบราว์เซอร์ตัวสุดท้ายที่ผมจะได้แนะนำ นั่นก็คือ Apple Safari หรือเรียกสั้นๆว่า Safari ครับ โดยถือได้ว่าเป็นเว็บเบราว์เซอร์แรก ที่ใช้เทคโนโลยี WebKit ในการ rendering หรือแสดงผลหน้าเว็บเพจ ทั้งนี้Safari ได้ถูกนำไปเป็นเบราว์เซอร์ในอุปกรณ์พกพาอย่าง Mobile Phone เช่น iPhone OS, Google Android, Nokia S60 และ Palm WebOS ด้วย

และก็เช่นเคย ในบทความนี้จะได้แนะนำและไกด์ไลน์วิธีใช้งานSafariเบื้องต้น กันก่อนนะครับ ซึ่งบอกไว้ก่อนนะครับว่าบทความนี้เหมาะสำหรับมือใหม่ ที่หัดใช้เบราเซอรSafari เท่านั้นนะครับ ใครที่เชี่ยวชาญแล้ว ก็ข้ามไปได้เลยนะครับ

โดยในบทความนี้ผมจะใช้เบราเซอร์ Safari เวอร์ชั่น 5 สำหรับเป็นไกด์ไลน์ให้นะครับ ซึ่งจะได้แนะนำส่วนต่างๆของเบราเซอร์Safari รวมถึงเมนูคำสั่งสำคัญต่างๆ และฟังก์ชั่นใช้งานแต่ละเมนูคำสั่ง ว่ามีประโยชน์อย่างไร เอาไว้ใช้ทำอะไรบ้างนะครับ อธิบายได้ ดังรูปต่อไปนี้

safari web browser,apple safari,ซาฟารี เบราว์เซอร์

จากรูป
หมายเลข 1 เรียกว่า Title Bar(ไตเติ้ลบาร์) เป็นส่วนที่ใช้แสดงไตเติ้ลหัวข้อ หรือเนื้อเรื่องของหน้าเว็บเพจนั้นๆครับ ซึ่งเหมือนกันกับTitle Bar ของ Internet Explorer และ Opera ครับ

หมายเลข 2 เรียกว่า Menu Bar(เมนูบาร์) เป็นส่วนของกลุ่มเมนูคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานSafari ครับ เช่น บันทึกหน้าเว็บ, พิมพ์หน้าเว็บ, Export/Import/Manage Bookmarks, ค้นหาในหน้าเว็บเพจ, ตั้งค่าการแสดงผลของหน้าเว็บเพจ, การเพิ่มเว็บที่เราชอบหรือเข้าบ่อยๆไว้ในBookmarks, การตั้งค่าการใช้งานSafari และอื่นๆ เป็นต้น

หมายเลข 3 เรียกว่า Navigation Bar(เนวิเกชั่นบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเลื่อนการแสดงผลหน้าเว็บเพจ(ไปข้างหน้าหรือย้อนหลัง) กรณีที่เราเปิดดูเว็บเพจหลายๆหน้า

หมายเลข 4 เรียกว่า Address Bar(ที่อยู่เว็บ หรือ URL) เป็นส่วนที่ให้พิมพ์ที่อยู่หรือ URL เว็บเพจที่เราต้องการเข้าไปเยี่ยมชม

หมายเลข 5 เรียกว่า Search Bar(เสิร์ชบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปที่หน้าเว็บเพจของSearch Engine Provider เจ้านั้นๆ ซึ่งจะมี Search Engine Provider เอาไว้ให้เราเลือกใช้มากมายหลายเจ้า ยกตัวอย่างเช่น Google, Yahoo, Bing เป็นต้น

หมายเลข 6 เรียกว่า Command Bar(คอมมานด์บาร์) เป็นส่วนที่กลุ่มเมนูคำสั่งแบบด่วนหรือช๊อตคัต ซึ่งช่วยให้เราใช้งานSafari ได้ง่าย และสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น เมนูคำสั่งที่เกี่ยวกับการสั่งให้ซ่อนหรือแสดงแถบบาร์ต่างๆ เช่น Menu Bar, Bookmarks Bar, Tab Bar, Status Bar รวมไปถึงตั้งการBlock Pop up, การตั้งค่าตัวเลือกต่างๆ และการติดตั้งExtensions ต่างๆของSafari เป็นต้น

หมายเลข 7 เรียกว่า Bookmarks Bar(บุ๊คมาร์คบาร์) เป็นส่วนที่ช่วยให้เราเปิด หรือเข้าถึงเว็บที่เราชื่นชอบหรือBookmarks ไว้ได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

หมายเลข 8 เรียกว่า Tab Bar(แท๊บบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดการแท๊บของการเปิดดูหน้าเว็บเพจใหม่ โดยที่ไม่ต้องเปิดSafari ขึ้นมาใหม่ หรือจะปิดแท๊บ หรือ Re-Open แท๊บที่เราเพิ่งจะปิดไปก็ได้ครับ

หมายเลข 9 เรียกว่า WebView Area(ตั้งชื่อเองนะครับ) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลหน้าเว็บเพจที่เราเปิดดูครับ

หมายเลข 10 เรียกว่า Status Bar(สถานะบาร์) เป็นส่วนที่ใช้แสดงสถานะ progress การดึงข้อมูลเพื่อแสดงในส่วนWebView Area ของ Safari ครับ

ครับ สำหรับบทความไกด์ไลน์วิธีใช้งานSafariเบื้องต้นนี้ ถือว่าเป็นไกด์ไลน์การแนะนำโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ล่าสุด แต่ไม่สุดท้าย เพราะยังมีโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์อีกมากมายหลายตัว ที่เพื่อนๆอาจจะใช้กันอยู่ แต่ในที่นี้ผมเอามาแนะนำกันแค่ 5 เว็บเบราว์เซอร์ก่อนเท่านั้นนะครับ และบทความนี้น่าจะพอช่วยให้มือใหม่ใช้งานSafari ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ และหากใครที่สงสัยหรือติดปัญหาการใช้งานSafari สามารถโพสต์คอมเม้นท์ถามได้เลยนะครับ หรือหากเพื่อนๆจะแนะนำโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์อื่นๆ ก็สามารถแนะนำกันได้นะครับ

ไกด์ไลน์วิธีใช้งานOperaเบื้องต้น – ilovebrowser

Tuesday, September 21st, 2010

วานนี้ ได้แนะนำไกด์ไลน์วิธีใช้งานGoogle Chromeเบื้องต้น ไปแล้ว คราวนี้ถึงตาเว็บเบราว์เซอร์ที่ชื่อOpera บ้างละนะครับ และเช่นเคย ในบทความนี้จะได้แนะนำและไกด์ไลน์วิธีใช้งานOperaเบื้องต้น กันก่อนนะครับ ซึ่งบอกไว้ก่อนนะครับว่าบทความนี้เหมาะสำหรับมือใหม่ ที่หัดใช้เบราเซอร์Opera เท่านั้นนะครับ ใครที่เชี่ยวชาญแล้ว ก็ข้ามไปได้เลยนะครับ

โดยในบทความนี้ผมจะใช้เบราเซอร์ Opera เวอร์ชั่น 9 สำหรับเป็นไกด์ไลน์ให้นะครับ โดยOpera เว็บเบราว์เซอร์นี้ ถือได้ว่าเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในการนำไปใช้เป็นWeb browser บน mobile phone หน่ะครับ เพื่อนๆอาจจะเคยเห็นมันผ่านตามาบ้างแล้ว ซึ่งจะได้แนะนำส่วนต่างๆของเบราเซอร์ Opera รวมถึงเมนูคำสั่งสำคัญต่างๆ และฟังก์ชั่นใช้งานแต่ละเมนูคำสั่ง ว่ามีประโยชน์อย่างไร เอาไว้ใช้ทำอะไรบ้างนะครับ อธิบายได้ ดังรูปต่อไปนี้

opera web browser,โอเปร่า เว็บเบราเซอร์
จากรูป
หมายเลข 1 เรียกว่า Title Bar(ไตเติ้ลบาร์) เป็นส่วนที่ใช้แสดงไตเติ้ลหัวข้อ หรือเนื้อเรื่องของหน้าเว้บเพจนั้นๆครับ ซึ่งเหมือนกันกับTitle Bar ของ Internet Explorer ครับ

หมายเลข 2 เรียกว่า Menu Bar(เมนูบาร์) เป็นส่วนของกลุ่มเมนูคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานOpera ครับ เช่น บันทึกหน้าเว็บ, พิมพ์หน้าเว็บ, Export/Import Bookmarks, ค้นหาในหน้าเว็บเพจ, ตั้งค่าการแสดงผลของหน้าเว็บเพจ, การเพิ่มเว็บที่เราชอบหรือเข้าบ่อยๆไว้ในBookmarks, การติดตั้งและจัดการWidgets ต่างๆ, การตั้งค่าการใช้งานOpera เป็นต้น

หมายเลข 3 เรียกว่า Command Bar(คอมมานด์บาร์) เป็นส่วนที่กลุ่มเมนูคำสั่งแบบด่วนหรือช๊อตคัต ซึ่งช่วยให้เราใช้งานOpera ได้ง่าย และสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น เมนูคำสั่งBookmarks(สำหรับเปิดดูหน้าเว็บเพจที่เราBookmarks ไว้), เมนูคำสั่ง Widgets(สำหรับติดตั้งและจัดการWidgets), เมนูคำสั่งNotes(สำหรับให้Operaเก็บใส่โน้ตย่อช่วยจำของเรา), เมนูคำสั่งTransfer(สำหรับช่วยในการเรียกดูและจัดการดาวน์โหลดไฟล์) เป็นต้น

หมายเลข 4 เรียกว่า Tab Bar(แท๊บบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดการแท๊บของการเปิดดูหน้าเว็บเพจใหม่ โดยที่ไม่ต้องเปิดOpera ขึ้นมาใหม่ หรือจะปิดแท๊บ หรือ Re-Open แท๊บที่เราเพิ่งจะปิดไปก็ได้ครับ

หมายเลข 5 เรียกว่า Navigation Bar(เนวิเกชั่นบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเลื่อนการแสดงผลหน้าเว็บเพจ(ไปข้างหน้าหรือย้อนหลัง) กรณีที่เราเปิดดูเว็บเพจหลายๆหน้า

หมายเลข 6 เรียกว่า Address Bar(ที่อยู่เว็บ หรือ URL) เป็นส่วนที่ให้พิมพ์ที่อยู่หรือ URL เว็บเพจที่เราต้องการเข้าไปเยี่ยมชม

หมายเลข 7 เรียกว่า Search Bar(เสิร์ชบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปที่หน้าเว็บเพจของSearch Engine Provider เจ้านั้นๆ ซึ่งจะมี Search Engine Provider เอาไว้ให้เราเลือกใช้มากมายหลายเจ้า ยกตัวอย่างเช่น Google, Ask, Yahoo, Amazon, Wikipedia เป็นต้น

หมายเลข 8 เรียกว่า WebView Area(ตั้งชื่อเองนะครับ) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลหน้าเว็บเพจที่เราเปิดดูครับ

หมายเลข 9 เรียกว่า Status Bar(สถานะบาร์) เป็นส่วนที่ใช้แสดงสถานะ progress การดึงข้อมูลเพื่อแสดงในส่วนWebView Area รวมทั้งยังมีฟังก์ชั่นเมนูคำวั่งด่วนให้ใช้อีกด้วย เช่น Cached Images(เพื่อแสดงหรือไม่แสดงรูปภาพในหน้าเว็บเพจนั้นๆ), การปรับการแสดงผลหน้าเว็บเพจ เป็นต้น

เป็นยังไงกันบ้างครับกับบทความไกด์ไลน์วิธีใช้งานOperaเบื้องต้น น่าจะพอช่วยให้มือใหม่ใช้งานOpera ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ และหากใครที่สงสัยหรือติดปัญหาการใช้งานOpera สามารถโพสต์คอมเม้นท์ถามได้เลยนะครับ

ไกด์ไลน์วิธีใช้งานGoogle Chromeเบื้องต้น – ilovebrowser

Monday, September 20th, 2010

จากที่เมื่อวาน ได้แนะนำบทความไกด์ไลน์วิธีใช้งานFirefoxเบื้องต้น ไปแล้วนั้น คราวนี้จะขอแนะนำเว็บเบราว์เซอร์น้องใหม่จากค่ายยักษ์ใหญ่แห่งวงการ Search Engine ซึ่งได้เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ในปี 2008 ที่ผ่านมานี่เอง ในชื่อว่า Google Chrome กับบทความไกด์ไลน์วิธีใช้งานGoogle Chromeเบื้องต้นต่อนะครับ ซึ่งบทความนี้เหมาะสำหรับมือใหม่ ที่หัดใช้เบราเซอร์Google Chrome เท่านั้นนะครับ ใครที่เชี่ยวชาญแล้ว ก็ข้ามไปได้เลยนะครับ

โดยในบทความนี้ผมจะใช้เบราเซอร์Google Chrome เวอร์ชั่น 6 สำหรับเป็นไกด์ไลน์ให้นะครับ ซึ่งจะได้แนะนำส่วนต่างๆของเบราเซอร์Google Chromeรวมถึงเมนูคำสั่งสำคัญต่างๆ และฟังก์ชั่นใช้งานแต่ละเมนูคำสั่ง ว่ามีประโยชน์อย่างไร เอาไว้ใช้ทำอะไรบ้างนะครับ อธิบายได้ ดังรูปต่อไปนี้

google chrome web browser,กูเกิ้ล โครม

จากรูป
หมายเลข 1 เรียกว่า Tab Bar(แท๊บบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดการแท๊บของการเปิดดูหน้าเว็บเพจใหม่ โดยที่ไม่ต้องเปิดgoogle chrome ขึ้นมาใหม่ หรือจะปิดแท๊บ หรือ Re-Open แท๊บที่เราเพิ่งจะปิดไปก็ได้ครับ ซึ่งจะสังเกตได้ว่า google chrome จะไม่มี Title Bar ที่แยกออกมาเป็นอิสระเลย ซึ่งหัวข้อหรือหัวเรื่อง จะถูกแสดงอยู่ภายในแต่ละแท๊บเลย

หมายเลข 2 เรียกว่า Navigation Bar(เนวิเกชั่นบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเลื่อนการแสดงผลหน้าเว็บเพจ(ไปข้างหน้าหรือย้อนหลัง) กรณีที่เราเปิดดูเว็บเพจหลายๆหน้า

หมายเลข 3 เรียกว่า Address Bar(ที่อยู่เว็บ หรือ URL) เป็นส่วนที่ให้พิมพ์ที่อยู่หรือ URL เว็บเพจที่เราต้องการเข้าไปเยี่ยมชม ซึ่งในช่อง Address Bar ของ Google Chrome นี้ เราสามารถพิมพ์คีย์เวิร์ดหรือคำค้นหา ที่เราต้องการค้นหาลงได้ไปเลย จากนั้น Google Chrome ก็จะทำการแสดงผลลัพธ์การค้นหาออกมาให้เอง

หมายเลข 4 เรียกว่า Options Bar(ออปชั่นบาร์ ตั้งขึ้นมาเองนะครับ) เป็นส่วนของกลุ่มเมนูคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน เช่น บันทึกหน้าเว็บ, พิมพ์หน้าเว็บ, ค้นหาในหน้าเว็บเพจ, ตั้งค่าการแสดงผลของหน้าเว็บเพจ, การติดตั้งAddons Extensions,การตั้งค่าการใช้งานGoogle Chrome ต่างๆ เป็นต้น

หมายเลข 5 เรียกว่า Bookmark Bar(บุ๊คมาร์คบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับแสดงเว็บที่เราชื่นชอบหรือเข้าบ่อยๆ ซึ่งเราได้ทำการเก็บไว้ใน Bookmark Bar เรียบร้อยแล้ว ซึ่งช่วยให้เราเข้าเว็บที่เราBookmarkไว้ได้ง่าย และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

หมายเลข 6 เรียกว่า Translate Bar(แถบแปลภาษาเว็บ) เป็นส่วนที่Google Chrome ใส่เข้ามาเพื่อช่วยในการแปลภาษาในเว็บเพจที่เรากำลังเยี่ยมชม ซึ่งTranslate Bar นี้ถูกตั้งค่าไว้ให้เราอัตโนมัติ แต่ถ้าหากไม่ต้องการก็สามารถตั้งค่าตัวเลือกได้ที่ Options นะครับ

หมายเลข 7 เรียกว่า WebView Area(ตั้งชื่อเองนะครับ) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลหน้าเว็บเพจที่เราเปิดดูครับ

แนะนำไกด์ไลน์วิธีใช้งานGoogle Chromeเบื้องต้นเท่านี้ก่อนนะครับ น่าจะพอช่วยให้มือใหม่ใช้งานGoogle Chrome ได้เพิ่มขึ้นนะครับ และหากใครที่สงสัยหรือติดปัญหาการใช้งานGoogle Chrome สามารถโพสต์คอมเม้นท์ถามได้เลยนะครับ

ไกด์ไลน์วิธีใช้งานFirefoxเบื้องต้น – ilovebrowser

Sunday, September 19th, 2010

จากที่ได้แนะนำไกด์ไลน์วิธีใช้งานInternet Explorerเบื้องต้น ไปแล้ว คราวนี้จะขอแนะนำไกด์ไลน์วิธีใช้งานFirefoxเบื้องต้นต่อนะครับ ซึ่งบทความนี้เหมาะสำหรับมือใหม่ ที่หัดใช้เบราเซอร์Firefox เท่านั้นนะครับ ใครที่เชี่ยวชาญแล้ว ก็ข้ามไปได้เลยนะครับ

และในบทความนี้ผมจะใช้เบราเซอร์Firefox เวอร์ชั่น 3.6.9 สำหรับเป็นไกด์ไลน์ให้นะครับ ซึ่งจะได้แนะนำส่วนต่างๆของเบราเซอร์Firefox รวมถึงเมนูคำสั่งสำคัญต่างๆ และฟังก์ชั่นใช้งานแต่ละเมนูคำสั่ง ว่ามีประโยชน์อย่างไร เอาไว้ใช้ทำอะไรบ้างนะครับ อธิบายได้ ดังรูปต่อไปนี้

firefox browser,หมาย่าง,ไฟร์ฟ๊อกซ์,หมาไฟ

จากรูป
หมายเลข 1 เรียกว่า Title Bar(ไตเติ้ลบาร์) เป็นส่วนที่ใช้แสดงไตเติ้ลหัวข้อ หรือเนื้อเรื่องของหน้าเว้บเพจนั้นๆครับ

หมายเลข 2 เรียกว่า Menu Bar(เมนูบาร์) เป็นส่วนของกลุ่มเมนูคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน เช่น บันทึกหน้าเว็บ, พิมพ์หน้าเว็บ, ค้นหาในหน้าเว็บเพจ, ตั้งค่าการแสดงผลของหน้าเว็บเพจ, การเพิ่มเว็บที่เราชอบหรือเข้าบ่อยๆไว้ในBookmarks, การติดตั้งAddons Extensions,การตั้งค่าการใช้งานFirefox ต่างๆ เป็นต้น

หมายเลข 3 เรียกว่า Navigation Bar(เนวิเกชั่นบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเลื่อนการแสดงผลหน้าเว็บเพจ(ไปข้างหน้าหรือย้อนหลัง) กรณีที่เราเปิดดูเว็บเพจหลายๆหน้า

หมายเลข 4 เรียกว่า Address Bar(ที่อยู่เว็บ หรือ URL) เป็นส่วนที่ให้พิมพ์ที่อยู่หรือ URL เว็บเพจที่เราต้องการเข้าไปเยี่ยมชม

หมายเลข 5 เรียกว่า Search Bar(เสิร์ชบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปที่หน้าเว็บเพจของSearch Engine Provider เจ้านั้นๆ ซึ่งจะมี Search Engine Provider เอาไว้ให้เราเลือกใช้มากมายหลายเจ้า ยกตัวอย่างเช่น Google, Bing, Yahoo เป็นต้น

หมายเลข 6 เรียกว่า Tab Bar(แท๊บบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดการแท๊บของการเปิดดูหน้าเว็บเพจใหม่ โดยที่ไม่ต้องเปิดFirefox ขึ้นมาใหม่ หรือจะปิดแท๊บ หรือ Re-Open แท๊บที่เราเพิ่งจะปิดไปก็ได้ครับ

หมายเลข 7 เรียกว่า WebView Area(ตั้งชื่อเองนะครับ) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลหน้าเว็บเพจที่เราเปิดดูครับ

หมายเลข 8 เรียกว่า Status Bar(สถานะบาร์) เป็นส่วนที่ใช้แสดงสถานะ progress การดึงข้อมูลเพื่อแสดงหน้าเว็บเพจในส่วนWebView Area ของ Firefox

เป็นยังไงกันบ้างครับกับบทความไกด์ไลน์วิธีใช้งานFirefoxเบื้องต้น น่าจะพอช่วยให้มือใหม่ใช้งานFirefox ได้เพิ่มขึ้นนะครับ และหากใครที่สงสัยหรือติดปัญหาการใช้งานFirefox สามารถโพสต์คอมเม้นท์ถามได้เลยนะครับ

ไกด์ไลน์วิธีใช้งานInternet Explorerเบื้องต้น – ilovebrowser

Friday, September 17th, 2010

หลังจากที่ทำความรู้จักไปเว็บเบราว์เซอร์กันไปเบื้องต้นแล้ว ตามบทความ ประวัติความเป็นมาเว็บเบราว์เซอร์ – ilovebrowser คราวนี้เรามาเรียนรู้วิธีใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ แต่ละตัวกันต่อดีกว่านะครับ ซึ่งในบทความนี้ขอเริ่มที่ไกด์ไลน์วิธีใช้งานInternet Explorerเบื้องต้น กันก่อนนะครับ ซึ่งบอกไว้ก่อนนะครับว่าบทความนี้เหมาะสำหรับมือใหม่ ที่หัดใช้เบราเซอร์Internet Explorer เท่านั้นนะครับ ใครที่เชี่ยวชาญแล้ว ก็ข้ามไปได้เลยนะครับ

โดยในบทความนี้ผมจะใช้เบราเซอร์ Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 สำหรับเป็นไกด์ไลน์ให้นะครับ ซึ่งจะได้แนะนำส่วนต่างๆของเบราเซอร์ Internet Explorer รวมถึงเมนูคำสั่งสำคัญต่างๆ และฟังก์ชั่นใช้งานแต่ละเมนูคำสั่ง ว่ามีประโยชน์อย่างไร เอาไว้ใช้ทำอะไรบ้างนะครับ อธิบายได้ ดังรูปต่อไปนี้

internet explorer,ie web browser

จากรูป
หมายเลข 1 เรียกว่า Title Bar(ไตเติ้ลบาร์) เป็นส่วนที่ใช้แสดงไตเติ้ลหัวข้อ หรือเนื้อเรื่องของหน้าเว้บเพจนั้นๆครับ

หมายเลข 2 เรียกว่า Navigation Bar(เนวิเกชั่นบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเลื่อนการแสดงผลหน้าเว็บเพจ(ไปข้างหน้าหรือย้อนหลัง) กรณีที่เราเปิดดูเว็บเพจหลายๆหน้า

หมายเลข 3 เรียกว่า Address Bar(ที่อยู่เว็บ หรือ URL) เป็นส่วนที่ให้พิมพ์ที่อยู่หรือ URL เว็บเพจที่เราต้องการเข้าไปเยี่ยมชม

หมายเลข 4 เรียกว่า Search Bar(เสิร์ชบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปที่หน้าเว็บเพจของSearch Engine Provider เจ้านั้นๆ ซึ่งจะมี Search Engine Provider เอาไว้ให้เราเลือกใช้มากมายหลายเจ้า ยกตัวอย่างเช่น Google, Bing, Yahoo เป็นต้น

หมายเลข 5 เรียกว่า Menu Bar(เมนูบาร์) เป็นส่วนของกลุ่มเมนูคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน เช่น บันทึกหน้าเว็บ, พิมพ์หน้าเว็บ, ค้นหาในหน้าเว็บเพจ, ตั้งค่าการแสดงผลของหน้าเว็บเพจ, การเพิ่มเว็บที่เราชอบหรือเข้าบ่อยๆไว้ในFavorite, การตั้งค่าการใช้งานInternet Explorer เป็นต้น

หมายเลข 6 เรียกว่า Tab Bar(แท๊บบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดการแท๊บของการเปิดดูหน้าเว็บเพจใหม่ โดยที่ไม่ต้องเปิดInternet Explorer ขึ้นมาใหม่ หรือจะปิดแท๊บ หรือ Re-Open แท๊บที่เราเพิ่งจะปิดไปก็ได้ครับ

หมายเลข 7 เรียกว่า Command Bar(คอมมานด์บาร์) เป็นส่วนที่กลุ่มเมนูคำสั่งแบบด่วน ซึ่งช่วยให้เราใช้งานInternet Explorer ได้ง่าย และสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น เมนูคำสั่ง Page(สำหรับตั้งค่าการดูหน้าเว็บเพจ), เมนูคำสั่ง Safety(สำหรับตั้งค่าความปลอดภัยในการดูเว็บเพจ), เมนูคำสั่ง Tools(สำหรับตั้งค่าการใช้งานต่างๆของInternet Explorer) เป็นต้น

หมายเลข 8 เรียกว่า WebView Area(ตั้งชื่อเองนะครับ) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลหน้าเว็บเพจที่เราเปิดดูครับ

หมายเลข 9 เรียกว่า Status Bar(สถานะบาร์) เป็นส่วนที่ใช้แสดงสถานะ progress การดึงข้อมูลเพื่อแสดงในส่วนWebView Area รวมทั้งยังมีฟังก์ชั่นเมนูคำวั่งด่วนให้ใช้อักด้วย เช่น Popup Blocker, ตรวจสอบเว็บไซต์, การปรับการแสดงผลหน้าเว็บเพจ เป็นต้น

เป็นยังไงกันบ้างครับกับบทความไกด์ไลน์วิธีใช้งานInternet Explorerเบื้องต้น น่าจะพอช่วยให้มือใหม่ใช้งานInternet Explorer ได้เพิ่มขึ้นนะครับ และหากใครที่สงสัยหรือติดปัญหาการใช้งานInternet Explorer สามารถโพสต์คอมเม้นท์ถามได้เลยนะครับ

ประวัติความเป็นมาเว็บเบราว์เซอร์ – ilovebrowser

Tuesday, September 14th, 2010

browsers icons ก่อนอื่นของนำประวัติเว็บเบราว์เซอร์ ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง มาเล่นสู่กันฟังนิดนึงก่อนนะครับ เผื่อว่ามีใครที่ยังไม่รู้ และเผื่อว่าเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง หรือถ้าใครรู้แล้วก็ข้ามผ่านบทความนี้ไปได้เลยนะครับ

คำว่า เว็บเบราว์เซอร์(web browser) หรือบางคนอาจจะเรียกสั้นๆว่า เบราว์เซอร์ ก็ได้ ซึ่ง เบราว์เซอร์ เป็นโปรแกรมตัวหนึ่ง ที่เอาไว้ใช้สำหรับการท่องไปในโลกอินเตอร์เน็ตหรือโลกแห่ง World Wide Web(WWW) นั่นเอง โดยข้อมูลสารสนเทศที่ได้รับก็จะมีหน้าเอกสารHTMLหรือหน้าเว็บเพจ,รูปภาพ,วิดีโอ เป็นต้น
ทั้งนี้ เว็บเบราว์เซอร์ ตัวแรกของโลกก็คือโปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บ(WorldWideWeb) ดังรูป
WorldWideWeb
ซึ่งโปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บนี้ ถูกสร้างขึ้นในปี 1991 โดยนาย ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี จากศูนย์วิจัยเซิร์น ซึ่งในระยะแรกนั้น โปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บ ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่หลังจากนั้น ในปี 1993 ศูนย์วิจัยเอ็นซีเอสเอ(NCSA) ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ก็ได้สร้างโปรแกรมโมเสก(MOSAIC) ขึ้นมา และถือได้ว่าเป็นเว็บเบราซ์เซอร์ตัวแรก ที่สามารถดูข้อมูลเชิงกราฟิก(the first graphical Web browsers) ได้ ซึ่งต่อมาทีมงานที่สร้างโปรแกรมโมเสก ก็ได้ออกไปก่อตั้งบริษัทชื่อว่าเน็ตสเคป(Netscape)

netscape icon,netscape logoและในปี 1994 เน็ตสเคปก็ได้สร้างโปรแกรมเบราว์เซอร์ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อว่าเน็ตสเคป เนวิเกเตอร์(Netscape Navigator) ซึ่งถือได้ว่าเป็นโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ที่ได้รับความนิยมมากในขณะนั้น

ie icon,ie logoจากนั้นต่อมาอีกไม่นาน ในปี 1995 Microsoft ก็ได้เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ที่มีชื่อว่า Internet Explorer(IE) ซึ่งถือได้ว่าช่วงนั้นทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับสงครามเบราว์เซอร์(browser war) เกิดขึ้น

opera icon,opera logoในปี 1996 Opera Software ก็ได้เปิดตัวโปรแกรมOpera ซึ่งถือได้ว่าเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในการนำไปใช้เป็นWeb browser บน mobile phone รวมถึงบนวิดีโอเกมWii ของ ถึงNintendo ด้วย

firefox icon,firefox logoหลังจากที่Netscape เงียบหายไปพอสมควร คราวนี้กลับมา กลายเป็น Mozilla Foundation โดยในปี 1998 ได้เปิดตัวเว็บเบราเซอร์ตัวใหม่ที่ชื่อว่า Firefox ซึ่งถือได้ว่าเป็น Free และ Open Source Browser ตัวแรกเลยก็ว่าได้

safari icon,safari logoมาทางค่ายApple บ้างก็ไม่น้อยหน้า ในปี 2003 ได้เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ที่ชื่อว่า Safari ซึ่งใช้เทคโนโลยีการ rendering ที่ชื่อ WebKit ทั้งนี้Safari ได้ถูกนำไปเป็นเบราว์เซอร์ใน Mobile Phone เช่น iPhone OS, Google Android, Nokia S60 และ Palm WebOS

chrome icon,chrome logoซึ่งหลังจากที่ปล่อยให้ค่ายดังๆได้เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์กันไปแล้ว มาทางค่ายเจ้าพ่อSearch Engine ยักษ์ใหญ่ของโลกบ้าง ในปี 2008 Google ก็ได้เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์Google Chrome ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ Google Chrome เองก็ได้นำเทคโนโลยีการ rendering ที่ชื่อ WebKit มาใช้ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีโปรแกรม เว็บเบราว์เซอร์ของเจ้าอื่นๆอีกหลายตัวนะครับที่ไม่ได้กล่าวถึง เช่น Maxthon, Tencent Traveler, The World รวมถึงPlawan(ปลาวาฬ)-เว็บเบราว์เซอร์สัญชาติไทย ยังไงเพื่อนๆลองค้นหากันดูเอาเองนะครับ ชอบตัวไหน หรืออยากลองทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บเบราว์เซอร์ ตัวไหนก็ลองๆหามาใช้ดูนะครับ หรือหากเพื่อนๆมีเว็บเบราว์เซอร์ตัวไหน ที่อยากจะแนะนำก็โพสต์คอมเม้นท์ได้เลยนะครับ

About Me

เว็บ ilovebrowser.com(i♥b) ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งข้อมูล แหล่งเรียนรู้ วิธีการใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ วิธีแก้ไขปัญหาเว็บเบราว์เซอร์ แนะนำทิป ทริก เทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับเว็บเบราว์เซอร์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer,Firefox,Chrome,Opera,Safari,Maxthon และเว็บเบราว์เซอร์อื่นๆ More

Want to subscribe?

Subscribe in a reader